ชุมชนคนมีชีวิตเต็มร้อย
กิจการ 2.37-47
- ในสังคมปัจจุบันมี ชุมชน มากมาย แต่ชุมชนหนึ่งที่สำคัญ คือ ชุมชนคนของพระเจ้า เป็นชุมชนที่พระเยซูตั้งขึ้น เมื่อกว่า 2000ปีที่ผ่านมา เป็นชุมชนเข้มแข็ง เปลี่ยนแปลงโลก คือ ชุมชนคริสตจักร หรือ ชุมชนผู้เชื่อในพระเยซูคริสต์
- หลังจากสาวกประมาณ 120 คน รับการเติมเต็มด้วยพระวิญญาณในวันเพนเทคอสต์ ต่อเนื่องจากวันนั้นมีคนยิวจากทั่วโลก ได้เดินทางมาร่วมในเทศกาลสำคัญของชาวยิว และในวันนั้นมีคนประมาณ 3,000 คน ได้กลับใจใหม่ เปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ เปลี่ยนทางการดำเนินชีวิต
- เมื่อพวกเขาได้ฟังคำพยานของอัครทูตเปโตรแล้ว พวกเขารู้สึกแปลบปลาบใจ พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทำงานผ่านทางคำพยานของเปโตร ไปถึงชีวิตของพวกเขา เมื่อพวกเขาได้ฟังแล้วจึงสัมผัสได้ถึงฤทธิ์เดชของพระเจ้า ในชีวิตของพวกเขา พวกเขาจึงถาม เปโตรว่า “ ...เราจะทำอย่างไรดี(ที่มีชีวิตเต็มร้อยในพระเจ้าได้)"
จากพระวจนะของพระเจ้า พระธรรมกิจการฯ 2.37-47 ได้บอกถึงสิ่งที่เราจะต้องกระทำตาม อย่างน้อย 3 ประการที่จะทำให้เราเป็น "ชุมชนคนที่มีชีวิตเต็มร้อย"
ประการที่ 1 เราต้องเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ( ข้อ 38)
การกลับใจใหม่และการรับบัพติสมาในพระนามแห่งพระเยซูคริสต์ เป็นกระบวนการการรับพระวิญญาณบริสุทธิ์
การกลับใจใหม่เป็นการหันหลังกลับจากวิถีชีวิตเก่า ความเชื่อเก่า การดำเนินชีวิตแบบเก่าที่ไม่ได้อยู่ในทางของพระเจ้า การดำเนินชีวิตที่พึ่งแต่กำลังตัวเอง สติปัญญาตัวเอง เราต้องกลับใจใหม่และนำชีวิตของเราเข้าไป อยู่ในพระเยซูคริสต์เจ้าอย่างแท้จริง
การบัพติสมาในพระนามของพระเยซูคริสต์ คือการที่เรามีชีวิตอยู่ในพระองค์ และพระเยซูคริสต์ มีชีวิตอยู่ในเราอย่างแท้จริง ชีวิตของเราจะถูกสร้างใหม่ เปลี่ยนแปลงใหม่ โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่ประทับสถิตอยู่ในชีวิตของเรา เมื่อเราได้กลับใจและรับบัพติสมาในพระเยซูคริสต์ ให้พระเยซูคริสต์เข้ามาอยู่ในชีวิตของเรา และเรามีชีวิตในพระองค์อย่างแท้จริง
ประการที่ 2 เราต้องรับการเสริมสร้างชีวิตให้เติบโตขึ้น (ข้อ 42)
เราต้องรับการเสริมสร้างชีวิตให้เจริญเติบโตขึ้นด้วยพระวจนะของพระเจ้า (ขะมักเขม้นในการฟังคำสอนจากอัครทูต) ชีวิตของคริสเตียน จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในพระเยซูคริสต์อย่างชัดเจน ชีวิตเราจะต้องมีความปรารถนาที่จะรู้จัก และมีประสบการณ์ชีวิตกับพระเยซูคริสต์ ให้มากขึ้น ทุกวันๆ พระวจนะหรือพระคัมภีร์ เป็นสิ่งที่พระเจ้าเปิดเผยสำแดงพระองค์ให้เรารู้จักพระองค์ เพื่อชีวิตของเราจะได้เจริญเติบโตขึ้น ในพระองค์ มากขึ้นทุกวันๆ
เราต้องรับการเสริมสร้างชีวิตให้เจริญเติบโตขึ้นด้วยการร่วมสามัคคีธรรม กับ ผู้เชื่อด้วยกัน เพื่อพัฒนาชีวิตของซึ่งกันและกัน คริสเตียนต้องไม่ขาดการสามัคคีธรรม ร่วมกับพี่น้อง คริสเตียนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสตรี อนุชน กลุ่มอธิษฐาน กลุ่มตามบ้าน เพราะกลุ่มสามัคคีธรรมต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยพัฒนาชีวิตของเราให้เจริญเติบโตขึ้นในพระเจ้า
เราต้องรับการเสริมสร้างด้วยการนมัสการพระเจ้า การนมัสการเป็นการที่เราถ่อมชีวิตจิตใจของเราลง แล้วยกพระเจ้าขึ้นสูงสุดในชีวิตของเรา เมื่อชีวิตของเรายกพรเจ้าขึ้น พระเจ้าก็จะทรงยกเราขึ้นเช่นกัน แต่ถ้าชีวิตของเราไม่ได้ถ่อมลงและยกพระเจ้าขึ้น ชีวิตของเราในพระเจ้าก็จะตกต่ำลง การดำเนินชีวิตที่ยกย่อง ให้เกียรติแด่พระเจ้า ถือเป็นการนมัสการพระเจ้าด้วยเช่นกัน
เราต้องรับการเสริมสร้างด้วยอธิษฐาน การอธิษฐานเป็นการสำแดงความเชื่อที่เรามีต่อพระเจ้าออกมา เป็นการที่เรามอบชีวิตและพึ่งพิงอยู่ในพระองค์ การอธิษฐานเป็นการสนทนากับพระเจ้าแสดงถึงความสัมพันธ์สนิทที่เรามีต่อพระเจ้า เมื่อชีวิตของเราติดสนิทกับพระเจ้าด้วยการอธิษฐาน ชีวิตของเราก็เจริญเติบโต เกิดผลในพระเจ้า
ประการที่ 3 เราต้องรักและรับใช้ซึ่งกันและกันในสังคม ชุมชนนี้ ( ข้อ 44-46)
ตั้งแต่วันแรกที่เรารับเชื่อพระเจ้า เป็นวันที่เราได้รับการทรงเรียกจากพระเจ้าให้เราเป็นเครื่องมือของพระเจ้า ในการที่จะทำให้พระประสงค์และน้ำพระทัยของพระเจ้าในการขยายแผ่นดิน การครอบครองของพระเจ้าให้สำเร็จ ในท่ามกลางสังคม ชุมชนที่เราอาศัยอยู่ และจนสุดปลายแผ่นดินโลก
ชีวิตคริสเตียนต้องรักซึ่งกันและรับใช้ซึ่งกันและกัน เพราะเราเป็นอวัยวะในร่างกายเดียวกัน คือเป็นพระวรกายของพระเยซูคริสต์ พระเจ้าทรงให้เราเป็นอวัยวะที่ต่างกันเพื่อจะได้รับใช้ช่วยเหลือเจือจุนซึ่งกันและกัน
ชีวิตคริสเตียนต้องรับใช้เพื่อนบ้าน คนที่อยู่ในชุมชน สังคม จงรักเพื่อนบ้าน เหมือนรักตนเอง เป็นพระมหาบัญญัติ ที่พระเจ้าต้องการให้สำเร็จในชีวิตของเราทั้งหลายทุกคน ที่ได้รับการทรงสถิตอยู่ด้วยของพระเจ้า
ตัวอย่าง. รถโฆษณาคันหนึ่งเขียนว่า "การให้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การให้อภัย" ขออภัยที่เสียงโฆษณาดังรบกวนท่าน
สรุป. เมื่อชีวิตคริสเตียนที่ดีได้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของคนทั้งปวง พวกเขาก็จะสรรเสริญพระเจ้า และมีความประทับใจ พระเจ้าก็จะทรงทำงานของพระองค์ในชีวิตจิตใจของคนเหล่านั้น และเขาก็จะได้รับความรอดจาก พระเจ้า( ข้อ 47)
พี่น้องทั้งหลาย พระเจ้าทรงมีพระราชประสงค์ให้ชีวิตของเราทุกได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ รับการเสริมสร้างชีวิตให้เติบโตเข้มแข็ง เพื่อที่เราจะรักและรับใช้ซึ่งกันและกัน รับใช้เพื่อนบ้าน ประกาศเป็นพยานข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ แล้วเราจะเป็น "ชุมชนคนที่มีชีวิตเต็มร้อย " ในพระเจ้า
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ชีวิตเต็มร้อยด้วยการเต็มล้น
ก้าวสู่ปีใหม่ “ชีวิตเต็มร้อยด้วยการเต็มล้น” (ด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์)
กจ.1.4-8
• สวัสดีปีใหม่ สันติสุข และความเจริญรุ่งเรืองจงมีแก่ทุกคน ปีใหม่นี้ ขอให้ทุกคน คิดดี พูดดี ทำดี มีชีวิตเต็มร้อยกับพระเจ้า รับพระพรเต็มร้อยกับพระเจ้า (บอกกับคนข้างๆ)
• การเริ่มต้นดี ก็มีชัยไปครึ่งหนึ่ง
• วันนี้เราจะก้าวสู่ปีใหม่ 2012 ด้วย “ชีวิตเต็มร้อยด้วยการเต็มล้น” (ด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์)
• หัวข้อวันนี้ คือ “ชีวิตเต็มร้อยด้วยการเต็มล้น”
• การก้าวสู่และก้าวไปในปีใหม่นี้ ปีที่ชีวิตเต็มร้อย เราจะต้องการไปด้วยการมีชีวิตที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า
• การมีชีวิตที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้ามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตคริสเตียน และการรับใช้ เป็นอย่างมาก เพราะพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นผู้ที่ประทานฤทธิ์เดชในการดำเนินชีวิตที่เต็มไปด้วยชัยชนะและการรับใช้ให้เกิดผลให้กับชีวิตของเรา ชีวิตที่ให้พระเจ้าไม่เต็มร้อยเพราะขาดกำลัง ก็จะได้รับการเติมเต็มด้วยกำลังฤทธิ์เดชจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าที่เต็มล้นในชีวิตของเรา
• จากพระวจนะของพระเจ้า ทำให้เราเห็นถึงเหตุผลสำคัญของการมีชีวิตที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า อย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้ คือ
1. เพราะเป็นความต้องการของพระเจ้าที่จะให้สาวกของพระเยซูมีชีวิตที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ จึงทรงสัญญาไว้ (กจ.1.4)
การเสด็จมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์ไม่ใช่เป็นความบังเอิญแต่เป็นการจัดเตรียมของพระเจ้าไว้ล่วงหน้า เป็นเวลาซึ่งพระเจ้าทรงกำหนดไว้ ตามพระประสงค์และน้ำพระทัยของพระองค์
เพราะพันธกิจนี้เป็นแผนการ การช่วยมนุษย์ให้รอดของพระเจ้า ที่จะนำให้มนุษย์ กลับคืนดีกับพระองค์ เป็นแผนการแห่งการขยายแผ่นดินของพระเจ้า หรือขยายการครอบครองของพระเจ้าในท่ามกลางชีวิตของมนุษย์
เพราะฉะนั้น ชีวิตของพวกสาวกจำเป็นต้องเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อชีวิตของพวกเขาจะสามารถดำเนินชีวิต และรับใช้พระเจ้า ในท่ามกลางสังคม ชุมชน ที่มีความกดดันอยู่รอบด้าน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ชีวิตของสาวกจำเป็นที่จะต้องเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่จะขับเคลื่อนชีวิตให้ฟันฝ่าอุปสรรคไปได้
2. เพราะเป็นความต้องการของพระเยซูคริสต์ที่จะให้สาวกของพระองค์เต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์
( กจ.1.4-5)
พระเยซูคริสต์จึงทรงกำชับ(สั่ง)ให้สาวกรอคอยที่จะรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ (กจ.1.4) เพราะพระเยซูทรงทราบถึงความสำคัญและความจำเป็นของการรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพวกสาวกของพระองค์ก่อนที่พวกเขาจะออกไปทำตามพระมหาบัญชามอบหมายให้สำเร็จ ก่อนที่พวกเขาจะก้าวไปสู่ชีวิตใหม่ สิ่งใหม่ในชีวิต (ก้าวสู่ปีใหม่ 2012)
พวกสาวกจำเป็นที่จะต้องรับฤทธิ์เดชจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เสียก่อน พวกเขาจึงจะมีพลังที่จะอุทิศถวายตัวแด่พระเยซูได้อย่างเต็มร้อย และทำให้พระมหาบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากพระเยซูนั้นให้สำเร็จได้ พวกเขาทั้งหลายจะต้องเต็มล้นด้วยพระวิญญบริสุทธิ์ของพระเจ้าก่อน และเต็มล้นอยู่เสมอ(บัพติสมา)
พระเยซูทรงทราบดีว่าฤทธิ์เดชของพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของสาวก และเป็นพลังขับเคลื่อนการรับใช้ของสาวก
พระเยซูคริสต์จึงได้กำชับ สาวกของพระองค์ให้อยู่ในกรุงเยรูซาเล็มเพื่อรอรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งจะทำให้สาวกของ พระองค์เต็มด้วยฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ และเมื่อพวกเขาได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ทำให้ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไป จากคนที่ขี้ขลาด เห็นแก่ตัวเอง คิดถึงแต่ผลประโยชน์ของ
ตัวเองและพวกพ้อง เป็นคนที่อุทิศชีวิตเพื่อพระเจ้า
เมื่อพวกเขาได้รับการเติมเต็มด้วยฤทธิ์เดชพระวิญญาณบริสุทธิ์ ชีวิตแห่งการรับใช้ของเขาจึงเกิดผล ประสบกับความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ และพวกสาวกได้อุทิศชีวิตของพวกเขาเพื่อพระเยซูคริสต์ ยอมตายเพื่อพระองค์ ไม่ได้หนี ไม่ได้ทอดทิ้งพระเยซูคริสต์ไปเหมือนเมื่อก่อน ชีวิตและการรับใช้ของพวกสาวกได้เปลี่ยนแปลงไป เพราะว่าชีวิตของพวกเขาได้รับการเติมให้เต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์
3. เพราะเป็นความจำเป็นของเรา(สาวก)ที่ต้องรับเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพื่อมีชีวิตที่เต็มด้วยฤทธิ์และเต็มร้อยในการรับใช้ (กจ.1.8)
จากพระธรรมกิจการ บทที่ 1.8 พระเยซูคริสต์ได้ตรัสว่า “8แต่ท่านทั้งหลายจะได้รับพระราชทานฤทธิ์เดช เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จมาเหนือท่าน และท่านทั้งหลายจะเป็นพยานฝ่ายเราในกรุงเยรูซาเล็ม ทั่วแคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก” เป็นการรับฤทธิ์เดชเพื่อการประกาศ การเป็นพยาน เพื่อการรับใช้
การรับใช้พระเจ้าในชีวิตของเราจะต้องเป็นการรับใช้ที่ถูกขับเคลื่อนและผลักดันไปด้วยฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ ไม่ใช่ถูกขับเคลื่อนและผลักดันไปด้วยสิ่งอื่นๆ หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่ใช่ด้วยฤทธิ์เดชและพระประสงค์ของพระเจ้า
เมื่อชีวิตของเราได้รับการเติมเต็มด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่เสมอแล้ว จะทำให้ชีวิตในการรับใช้พระเจ้าของเราก็สามารถไปถึงเป้าหมายปลายทางตาม พระประสงค์และน้ำพระทัยของพระเจ้าได้
ฉะนั้น ชีวิตของเราจะต้องเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่เสมอ เพื่อที่ชีวิตของเราจะเต็มไปด้วยพลังในการดำเนินชีวิตและการรับใช้ “ไม่ใช่ด้วยฤทธิ์ หรือ แรง กำลังของเรา แต่ด้วยฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า”
สรุป ขอให้ปี 2012 นี้ ให้เราทุกคนเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า เพื่อชีวิตของเราจะเต็มร้อยกับพระเจ้าในการดำเนินชีวิตและการรับใช้ เราจะมีชีวิตเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ด้วยการ ….
1. เอาจริงเอาจังในการนมัสการพระเจ้า
2. เอาจริงเอาจังในพระวจนะของพระเจ้า
3. เอาจริงเอาจังในการอธิษฐาน
4. เอาจริงเอาจังในการร่วมสามัคคีธรรม สร้างและรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น
5. เอาจริงเอาจังในการรับใช้ การประกาศ เป็นพยาน นำคนมารู้จักกับพระเจ้า
อธิษฐาน...
กจ.1.4-8
• สวัสดีปีใหม่ สันติสุข และความเจริญรุ่งเรืองจงมีแก่ทุกคน ปีใหม่นี้ ขอให้ทุกคน คิดดี พูดดี ทำดี มีชีวิตเต็มร้อยกับพระเจ้า รับพระพรเต็มร้อยกับพระเจ้า (บอกกับคนข้างๆ)
• การเริ่มต้นดี ก็มีชัยไปครึ่งหนึ่ง
• วันนี้เราจะก้าวสู่ปีใหม่ 2012 ด้วย “ชีวิตเต็มร้อยด้วยการเต็มล้น” (ด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์)
• หัวข้อวันนี้ คือ “ชีวิตเต็มร้อยด้วยการเต็มล้น”
• การก้าวสู่และก้าวไปในปีใหม่นี้ ปีที่ชีวิตเต็มร้อย เราจะต้องการไปด้วยการมีชีวิตที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า
• การมีชีวิตที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้ามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตคริสเตียน และการรับใช้ เป็นอย่างมาก เพราะพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นผู้ที่ประทานฤทธิ์เดชในการดำเนินชีวิตที่เต็มไปด้วยชัยชนะและการรับใช้ให้เกิดผลให้กับชีวิตของเรา ชีวิตที่ให้พระเจ้าไม่เต็มร้อยเพราะขาดกำลัง ก็จะได้รับการเติมเต็มด้วยกำลังฤทธิ์เดชจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าที่เต็มล้นในชีวิตของเรา
• จากพระวจนะของพระเจ้า ทำให้เราเห็นถึงเหตุผลสำคัญของการมีชีวิตที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า อย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้ คือ
1. เพราะเป็นความต้องการของพระเจ้าที่จะให้สาวกของพระเยซูมีชีวิตที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ จึงทรงสัญญาไว้ (กจ.1.4)
การเสด็จมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์ไม่ใช่เป็นความบังเอิญแต่เป็นการจัดเตรียมของพระเจ้าไว้ล่วงหน้า เป็นเวลาซึ่งพระเจ้าทรงกำหนดไว้ ตามพระประสงค์และน้ำพระทัยของพระองค์
เพราะพันธกิจนี้เป็นแผนการ การช่วยมนุษย์ให้รอดของพระเจ้า ที่จะนำให้มนุษย์ กลับคืนดีกับพระองค์ เป็นแผนการแห่งการขยายแผ่นดินของพระเจ้า หรือขยายการครอบครองของพระเจ้าในท่ามกลางชีวิตของมนุษย์
เพราะฉะนั้น ชีวิตของพวกสาวกจำเป็นต้องเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อชีวิตของพวกเขาจะสามารถดำเนินชีวิต และรับใช้พระเจ้า ในท่ามกลางสังคม ชุมชน ที่มีความกดดันอยู่รอบด้าน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ชีวิตของสาวกจำเป็นที่จะต้องเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่จะขับเคลื่อนชีวิตให้ฟันฝ่าอุปสรรคไปได้
2. เพราะเป็นความต้องการของพระเยซูคริสต์ที่จะให้สาวกของพระองค์เต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์
( กจ.1.4-5)
พระเยซูคริสต์จึงทรงกำชับ(สั่ง)ให้สาวกรอคอยที่จะรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ (กจ.1.4) เพราะพระเยซูทรงทราบถึงความสำคัญและความจำเป็นของการรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพวกสาวกของพระองค์ก่อนที่พวกเขาจะออกไปทำตามพระมหาบัญชามอบหมายให้สำเร็จ ก่อนที่พวกเขาจะก้าวไปสู่ชีวิตใหม่ สิ่งใหม่ในชีวิต (ก้าวสู่ปีใหม่ 2012)
พวกสาวกจำเป็นที่จะต้องรับฤทธิ์เดชจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เสียก่อน พวกเขาจึงจะมีพลังที่จะอุทิศถวายตัวแด่พระเยซูได้อย่างเต็มร้อย และทำให้พระมหาบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากพระเยซูนั้นให้สำเร็จได้ พวกเขาทั้งหลายจะต้องเต็มล้นด้วยพระวิญญบริสุทธิ์ของพระเจ้าก่อน และเต็มล้นอยู่เสมอ(บัพติสมา)
พระเยซูทรงทราบดีว่าฤทธิ์เดชของพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของสาวก และเป็นพลังขับเคลื่อนการรับใช้ของสาวก
พระเยซูคริสต์จึงได้กำชับ สาวกของพระองค์ให้อยู่ในกรุงเยรูซาเล็มเพื่อรอรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งจะทำให้สาวกของ พระองค์เต็มด้วยฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ และเมื่อพวกเขาได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ทำให้ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไป จากคนที่ขี้ขลาด เห็นแก่ตัวเอง คิดถึงแต่ผลประโยชน์ของ
ตัวเองและพวกพ้อง เป็นคนที่อุทิศชีวิตเพื่อพระเจ้า
เมื่อพวกเขาได้รับการเติมเต็มด้วยฤทธิ์เดชพระวิญญาณบริสุทธิ์ ชีวิตแห่งการรับใช้ของเขาจึงเกิดผล ประสบกับความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ และพวกสาวกได้อุทิศชีวิตของพวกเขาเพื่อพระเยซูคริสต์ ยอมตายเพื่อพระองค์ ไม่ได้หนี ไม่ได้ทอดทิ้งพระเยซูคริสต์ไปเหมือนเมื่อก่อน ชีวิตและการรับใช้ของพวกสาวกได้เปลี่ยนแปลงไป เพราะว่าชีวิตของพวกเขาได้รับการเติมให้เต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์
3. เพราะเป็นความจำเป็นของเรา(สาวก)ที่ต้องรับเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพื่อมีชีวิตที่เต็มด้วยฤทธิ์และเต็มร้อยในการรับใช้ (กจ.1.8)
จากพระธรรมกิจการ บทที่ 1.8 พระเยซูคริสต์ได้ตรัสว่า “8แต่ท่านทั้งหลายจะได้รับพระราชทานฤทธิ์เดช เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จมาเหนือท่าน และท่านทั้งหลายจะเป็นพยานฝ่ายเราในกรุงเยรูซาเล็ม ทั่วแคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก” เป็นการรับฤทธิ์เดชเพื่อการประกาศ การเป็นพยาน เพื่อการรับใช้
การรับใช้พระเจ้าในชีวิตของเราจะต้องเป็นการรับใช้ที่ถูกขับเคลื่อนและผลักดันไปด้วยฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ ไม่ใช่ถูกขับเคลื่อนและผลักดันไปด้วยสิ่งอื่นๆ หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่ใช่ด้วยฤทธิ์เดชและพระประสงค์ของพระเจ้า
เมื่อชีวิตของเราได้รับการเติมเต็มด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่เสมอแล้ว จะทำให้ชีวิตในการรับใช้พระเจ้าของเราก็สามารถไปถึงเป้าหมายปลายทางตาม พระประสงค์และน้ำพระทัยของพระเจ้าได้
ฉะนั้น ชีวิตของเราจะต้องเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่เสมอ เพื่อที่ชีวิตของเราจะเต็มไปด้วยพลังในการดำเนินชีวิตและการรับใช้ “ไม่ใช่ด้วยฤทธิ์ หรือ แรง กำลังของเรา แต่ด้วยฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า”
สรุป ขอให้ปี 2012 นี้ ให้เราทุกคนเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า เพื่อชีวิตของเราจะเต็มร้อยกับพระเจ้าในการดำเนินชีวิตและการรับใช้ เราจะมีชีวิตเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ด้วยการ ….
1. เอาจริงเอาจังในการนมัสการพระเจ้า
2. เอาจริงเอาจังในพระวจนะของพระเจ้า
3. เอาจริงเอาจังในการอธิษฐาน
4. เอาจริงเอาจังในการร่วมสามัคคีธรรม สร้างและรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น
5. เอาจริงเอาจังในการรับใช้ การประกาศ เป็นพยาน นำคนมารู้จักกับพระเจ้า
อธิษฐาน...
รักเต็มร้อย
รักเต็มร้อย
ยอห์น 3.16 ,1 ยอห์น 4:7-21
พี่น้องทั้งหลายคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “ ความรักทำให้คนตาบอด” และดูเหมือนว่าคำพูดนี่จะเป็นความจริงเสียด้วย เพราะว่า ไม่นานมานี่ได้มีศาสตราจารย์ชาวอเมริกันท่านหนึ่งได้ทำวิจัยสมองของคนที่ขณะมีความรักพบว่า สมองของคนที่อยู่ในอารมณ์ที่มีความรัก มีการทำงานของสมองน้อยมาก เพราะสมองจะหลั่งสารอ๊อกซิโตซีนออกมา สารนี้จะทำให้สมองทำงานน้อยลงและจะทำให้คนๆนั้นใช้ความรู้สึก(ใจ)มากกว่าใช้เหตุผล(สมอง) บางครั้งเราจึงเห็นคนที่มีความรักทำอะไรบางอย่างแบบไม่มีเหตุผล(สมอง) ทำในสิ่งที่คนที่อยู่ในภาวะปกติจะไม่ทำกัน ถ้าเป็นเรื่องบวกก็ดีไปและถ้าเป็นเรื่องลบก็แย่ นี่แหละเรียกว่า ความรักทำให้คนตาบอด
มีคนกล่าวว่า “ถ้าเอาความรักของพระเจ้าออกจากพระคัมภีร์ เราคงต้องฉีกพระคัมภีร์ทุกหน้าทิ้ง” เพราะพระคัมภีร์ทั้งหมดได้สื่อสารเรื่องราวความรักของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ทุกคน ทุกชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ ทุกชนชั้น วรรณะ เพราะความรักที่พระเจ้ามีให้กับมนุษย์นั้นเป็นความรักที่เต็มร้อย โดยการให้พระบุตรองค์เดียวของพระองค์คือพระเยซูคริสต์ ได้เสด็จเข้ามาในโลกนี้ เพื่อช่วยโลกนี้ให้รอดจากความพินาศ ด้วยการตายบนไม้กางเขนเพื่อบาปของเราทั้งหลาย
จากพระวจนะของพระเจ้า อัครทูตยอห์นได้บอกว่า ถ้าพระเจ้าทรงรักเราทั้งหลายเช่นนั้น เช่นนั้นคือรักเต็มร้อย เราก็ควรจะรักซึ่งกันและกันด้วย
ทำไมเราถึงต้องรักซึ่งกันและกัน ?
1) เพราะพระเยซูทรงต้องการให้เรารักซึ่งกันและกัน
พระเยซูได้ให้บัญญัติใหม่แก่สาวกของพระองค์ใน ยอห์น 13:34-35 “เราให้บัญญัติใหม่ไว้แก่เจ้าทั้งหลาย คือให้เจ้ารักซึ่งกันและกัน เรารักเจ้าทั้งหลายมาแล้วอย่างไร เจ้าจงรักกันและกันอย่างนั้น ถ้าเจ้าทั้งหลายรักกันและกัน ดังนี้แหละคนทั้งปวงก็จะรู้ได้ว่าเจ้าทั้งหลายเป็นสาวกของเรา”
บัญญัติของพระเจ้าง่ายๆ คือ “รักซึ่งกันและกัน” ความเข้มแข็งของคริสตจักรไม่ได้หมายความเพียงว่าเราแต่ละคนมีความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้าเท่านั้น แต่หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพี่น้องคริสเตียนด้วยกันด้วย
ในกิจการ 2:44-45 คริสตจักรยุคแรก พวกเขารักกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ที่พวกเขาสามารถทำเช่นนั้นได้ไม่ใช่เพราะอัครทูตออกคำสั่งให้เขาทำ แต่ที่เขาสามารถทำเช่นนั้นได้เพราะพระวิญญาณบริสุทธิ์ผูกพันใจพวกเขาเข้าด้วยกัน ยิ่งถูกข่มเหงถูกกดดัน ข่มเหง แต่เขาก็ยืนหยัดมั่นคงในความเชื่อ และรักกัน ทำให้คริสเตียนยิ่งเพิ่มมากขึ้น
1 ยอห์น 3:17 อ.เปาโลเขียนจดหมายฉบับนี้ไปถึงพี่น้องคริสตจักรเมืองเอเฟซัส และอีกหลายๆ แห่งในอาณาจักรโรม ว่า “แต่ถ้าผู้ใดมีทรัพย์สมบัติในโลกนี้ และเห็นพี่น้องของตนขัดสนแล้วยังใจจืดใจดำไม่สงเคราะห์เขา ความรักของพระเจ้าจะดำรงอยู่ในผู้นั้นอย่างไรได้”
การรักพระเจ้าและรักพี่น้องไม่ใช่แค่คิดแต่ต้องสำแดงความรักออกมาเป็นการกระทำด้วย คือ การแบ่งปันและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ได้แพร่ขยายออกไปอย่างรวดเร็วทั่วอาณาจักรโรม เคล็ดลับอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือพวกเขารักพระเจ้าและพวกเขารักซึ่งกันและกัน
2)เพราะพระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างของการรักซึ่งกันและกัน
มาตรฐานความรักของพระเยซูคริสต์แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับมาตรฐานความรักของโลก เพราะว่าพระองค์รักด้วยการเสียสละชีวิต พระองค์ให้ชีวิตพระองค์เองแก่สาวกตลอด 3 ปี พระองค์แบ่งปันทุกสิ่งที่พระองค์ได้รับจากพระบิดาให้กับสาวก ไม่ว่าจะเป็นคำสอน การดำเนินชีวิต วิธีการเผชิญปัญหา สิทธิอำนาจทั้งสิ้นของพระองค์ พระองค์ทรงให้กับสาวก
ความรักของพระเยซูคริสต์คือ การให้ชีวิต ให้เวลา พระองค์ทุ่มเทเพื่อเขาจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นทีมเดียวกัน พระองค์ร่วมเผชิญปัญหา ความสุข ความทุกข์ กินด้วยกัน อดด้วยกัน นี้คือแบบอย่างที่พระองค์ปรารถนาให้เราเรียนรู้และทำตาม
เราต้องให้พระเยซูเป็นศูนย์กลางความสัมพันธ์ของเรา ที่เรารักซึ่งกันและกันได้โดยมองดูที่พระองค์ เพราะพระองค์เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เราทั้งหลาย พระเยซูคริสต์มีความถ่อมใจและปรนนิบัติพวกเขา พระองค์ทำทุกสิ่งเพียงเพื่อจะให้พวกเขารู้ว่าเมื่อรักแล้วก็ต้องปรนนิบัติรับใช้ พระองค์สอนเขาและทำให้พวกเขาดูด้วย
ในยอห์น 13:1 บอกว่า “ก่อนถึงงานเทศกาลปัสกา พระเยซูทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่พระองค์จะทรงจากโลกนี้ไปหา พระบิดา พระองค์ทรงรักพวกของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด” พระเยซูลุกขึ้นล้างเท้าสาวก พระองค์กำลังสอนเขาถึงความรัก เมื่อมีความรักก็สามารถที่จะแสดงความถ่อมใจรับใช้คนอื่นด้วยความจริงใจ
พระเยซูสำแดงความรักเป็นแบบอย่างให้แก่สาวกอย่างไร ?
1) ทรงให้อภัย
เรามาหาพระองค์เพราะอะไร? ก็เพราะว่าเราต่างก็มีปัญหา ถามว่าพวกสาวกมีปัญหาหรือเปล่า ? มีครับ ทะเลาะกันไหม? ทะเลาะครับ... แก่งแย่งกันใครจะใหญ่กว่าใคร ใครจะนั่งข้างซ้ายใครจะนั่งข้างขวา เราพบว่าความรักที่พระเยซูคริสต์แสดงแก่พวกสาวกก็คือ การให้อภัย.. พระองค์อดทนต่อพวกเขาแม้เขาจะปฏิเสธพระองค์ละทิ้งพระองค์ไป
เปโตรปฏิเสธพระองค์ถึง 3 ครั้งว่าไม่รู้จักพระองค์ เมื่อพระองค์เป็นขึ้นมาจากความตาย พระองค์เสด็จไปหาเขาจิตใจพระองค์ผูกผันและให้อภัยสาวก พระองค์ถามเปโตรว่า “เจ้ารักเรามากกว่าสิ่งเหล่านี้หรือ? และพระองค์บอกเปโตรว่า “จงเลี้ยงแกะของเรา” พระองค์ทรงเห็นว่าเขายังเป็นคนที่ใช้การได้ พระองค์ทรงให้อภัยแก่เขา
กาลาเทีย 6:1-2 อาจารย์เปาโลได้กล่าวว่า “ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย แม้จับผู้ใดที่ละเมิดประการใดได้ ท่านซึ่งอยู่ฝ่าย พระวิญญาณ จงช่วยผู้นั้นด้วยใจอ่อนสุขภาพให้เขากลับตั้งตัวใหม่ โดยคิดถึงตัวเองเกรงว่าท่านจะถูกชักจูงให้หลงไปด้วย จงช่วยรับภาระของกันและกัน ท่านจึงจะได้ปฏิบัติตามพระบัญญัติ(รัก)ของพระคริสต์”
ความรักที่พระเยซูมีต่อพวกสาวกทำให้พระองค์ตามเขากลับมา แม้พวกเขาออกนอกน้ำพระทัยพระเจ้าหนีกลับไปจับปลา พระองค์ไม่รอให้เขามาหาพระองค์ แต่พระองค์เสด็จไปหาเขาด้วยความรักให้เขากลับมาสู่งานรับใช้กลับมาสู่พันธกิจของพระองค์อีกครั้งหนึ่ง
2) รู้จักการผ่อนหนักผ่อนเบาซึ่งกันและกัน
ธรรมชาติของมนุษย์เราก็คือ เอาตัวเราเองเป็นศูนย์กลาง ซึ่งนำไปสู่การขัดแย้ง และแตกแยก แน่นอนถ้าเราคิดและทำอย่างนั้น
โคโลสี 3:13 กล่าวไว้ว่า “จงผ่อนหนักผ่อนเบาซึ่งกันและกัน และถ้าแม้ว่าผู้ใดมีเรื่องราวต่อกัน ก็จงยกโทษให้กันและกันองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงโปรดยกโทษให้ท่านฉันใด ท่านจงกระทำอย่างนั้นเหมือนกัน”
พระคัมภีร์ข้อนี้ไม่ได้หมายความว่าให้เราอะลุ่มอล่วยกับความบาป แต่ให้เรารู้จักยอมรับกันและกันในความแตกต่าง ในความไม่เหมือนกัน เพราะว่าเราทั้งหลายมีข้อบกพร่องด้วยกันทั้งนั้น เราต้องให้อภัยพี่น้องถ้าเรารักพระเจ้าเราก็ต้องให้อภัยและรักเขาให้ได้ เปาโลได้บอกว่า “จงสวมความรักทับสิ่งแหล่านี้ทั้งหมดเพราะว่าความรักย่อมผูกผันทุกสิ่งไว้ให้ถึงความสมบูรณ์…ความรักลบล้างความผิดบาปมากมายได้”
ถ้าเรามีความรักต่อพระเจ้า แน่นอนเราก็สามารถที่จะรักคนอื่นได้ถึงแม้ว่าเขาจะไม่น่ารักก็ตาม และพระเจ้าจะสามารถทำพระราชกิจของพระองค์ในชีวิต ในคริสตจักรของเรามากยิ่งขึ้น ถ้าหากเราทั้งหลายรักซึ่งกันและกัน
พระเจ้าทรงรักเราทั้งหลายเต็มร้อย เราก็ควรรักซึ่งกันและกันเต็มร้อยเช่นเดียวกัน ด้วยการให้อภัยกันเต็มร้อย และผ่อนหนักผ่อนเบาซึ่งกันและกัน (ตัวอย่าง การซ่อมถนนป่าตัน มีป้ายเขียนไว้ว่า “ขออภัยในความไม่สะดวกเพราะกำลังก่อสร้าง” กรุณาใช้ทางเบี่ยง ) เราทุกคนกำลังรับการสร้างจากพระเจ้าจึงไม่มีใครสมบูรณ์แบบในโลกนี้ แต่เมื่อเราไปที่สวรรค์แล้วเราทุกคนจะสมบูรณ์แบบ
ยอห์น 3.16 ,1 ยอห์น 4:7-21
พี่น้องทั้งหลายคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “ ความรักทำให้คนตาบอด” และดูเหมือนว่าคำพูดนี่จะเป็นความจริงเสียด้วย เพราะว่า ไม่นานมานี่ได้มีศาสตราจารย์ชาวอเมริกันท่านหนึ่งได้ทำวิจัยสมองของคนที่ขณะมีความรักพบว่า สมองของคนที่อยู่ในอารมณ์ที่มีความรัก มีการทำงานของสมองน้อยมาก เพราะสมองจะหลั่งสารอ๊อกซิโตซีนออกมา สารนี้จะทำให้สมองทำงานน้อยลงและจะทำให้คนๆนั้นใช้ความรู้สึก(ใจ)มากกว่าใช้เหตุผล(สมอง) บางครั้งเราจึงเห็นคนที่มีความรักทำอะไรบางอย่างแบบไม่มีเหตุผล(สมอง) ทำในสิ่งที่คนที่อยู่ในภาวะปกติจะไม่ทำกัน ถ้าเป็นเรื่องบวกก็ดีไปและถ้าเป็นเรื่องลบก็แย่ นี่แหละเรียกว่า ความรักทำให้คนตาบอด
มีคนกล่าวว่า “ถ้าเอาความรักของพระเจ้าออกจากพระคัมภีร์ เราคงต้องฉีกพระคัมภีร์ทุกหน้าทิ้ง” เพราะพระคัมภีร์ทั้งหมดได้สื่อสารเรื่องราวความรักของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ทุกคน ทุกชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ ทุกชนชั้น วรรณะ เพราะความรักที่พระเจ้ามีให้กับมนุษย์นั้นเป็นความรักที่เต็มร้อย โดยการให้พระบุตรองค์เดียวของพระองค์คือพระเยซูคริสต์ ได้เสด็จเข้ามาในโลกนี้ เพื่อช่วยโลกนี้ให้รอดจากความพินาศ ด้วยการตายบนไม้กางเขนเพื่อบาปของเราทั้งหลาย
จากพระวจนะของพระเจ้า อัครทูตยอห์นได้บอกว่า ถ้าพระเจ้าทรงรักเราทั้งหลายเช่นนั้น เช่นนั้นคือรักเต็มร้อย เราก็ควรจะรักซึ่งกันและกันด้วย
ทำไมเราถึงต้องรักซึ่งกันและกัน ?
1) เพราะพระเยซูทรงต้องการให้เรารักซึ่งกันและกัน
พระเยซูได้ให้บัญญัติใหม่แก่สาวกของพระองค์ใน ยอห์น 13:34-35 “เราให้บัญญัติใหม่ไว้แก่เจ้าทั้งหลาย คือให้เจ้ารักซึ่งกันและกัน เรารักเจ้าทั้งหลายมาแล้วอย่างไร เจ้าจงรักกันและกันอย่างนั้น ถ้าเจ้าทั้งหลายรักกันและกัน ดังนี้แหละคนทั้งปวงก็จะรู้ได้ว่าเจ้าทั้งหลายเป็นสาวกของเรา”
บัญญัติของพระเจ้าง่ายๆ คือ “รักซึ่งกันและกัน” ความเข้มแข็งของคริสตจักรไม่ได้หมายความเพียงว่าเราแต่ละคนมีความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้าเท่านั้น แต่หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพี่น้องคริสเตียนด้วยกันด้วย
ในกิจการ 2:44-45 คริสตจักรยุคแรก พวกเขารักกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ที่พวกเขาสามารถทำเช่นนั้นได้ไม่ใช่เพราะอัครทูตออกคำสั่งให้เขาทำ แต่ที่เขาสามารถทำเช่นนั้นได้เพราะพระวิญญาณบริสุทธิ์ผูกพันใจพวกเขาเข้าด้วยกัน ยิ่งถูกข่มเหงถูกกดดัน ข่มเหง แต่เขาก็ยืนหยัดมั่นคงในความเชื่อ และรักกัน ทำให้คริสเตียนยิ่งเพิ่มมากขึ้น
1 ยอห์น 3:17 อ.เปาโลเขียนจดหมายฉบับนี้ไปถึงพี่น้องคริสตจักรเมืองเอเฟซัส และอีกหลายๆ แห่งในอาณาจักรโรม ว่า “แต่ถ้าผู้ใดมีทรัพย์สมบัติในโลกนี้ และเห็นพี่น้องของตนขัดสนแล้วยังใจจืดใจดำไม่สงเคราะห์เขา ความรักของพระเจ้าจะดำรงอยู่ในผู้นั้นอย่างไรได้”
การรักพระเจ้าและรักพี่น้องไม่ใช่แค่คิดแต่ต้องสำแดงความรักออกมาเป็นการกระทำด้วย คือ การแบ่งปันและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ได้แพร่ขยายออกไปอย่างรวดเร็วทั่วอาณาจักรโรม เคล็ดลับอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือพวกเขารักพระเจ้าและพวกเขารักซึ่งกันและกัน
2)เพราะพระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างของการรักซึ่งกันและกัน
มาตรฐานความรักของพระเยซูคริสต์แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับมาตรฐานความรักของโลก เพราะว่าพระองค์รักด้วยการเสียสละชีวิต พระองค์ให้ชีวิตพระองค์เองแก่สาวกตลอด 3 ปี พระองค์แบ่งปันทุกสิ่งที่พระองค์ได้รับจากพระบิดาให้กับสาวก ไม่ว่าจะเป็นคำสอน การดำเนินชีวิต วิธีการเผชิญปัญหา สิทธิอำนาจทั้งสิ้นของพระองค์ พระองค์ทรงให้กับสาวก
ความรักของพระเยซูคริสต์คือ การให้ชีวิต ให้เวลา พระองค์ทุ่มเทเพื่อเขาจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นทีมเดียวกัน พระองค์ร่วมเผชิญปัญหา ความสุข ความทุกข์ กินด้วยกัน อดด้วยกัน นี้คือแบบอย่างที่พระองค์ปรารถนาให้เราเรียนรู้และทำตาม
เราต้องให้พระเยซูเป็นศูนย์กลางความสัมพันธ์ของเรา ที่เรารักซึ่งกันและกันได้โดยมองดูที่พระองค์ เพราะพระองค์เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เราทั้งหลาย พระเยซูคริสต์มีความถ่อมใจและปรนนิบัติพวกเขา พระองค์ทำทุกสิ่งเพียงเพื่อจะให้พวกเขารู้ว่าเมื่อรักแล้วก็ต้องปรนนิบัติรับใช้ พระองค์สอนเขาและทำให้พวกเขาดูด้วย
ในยอห์น 13:1 บอกว่า “ก่อนถึงงานเทศกาลปัสกา พระเยซูทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่พระองค์จะทรงจากโลกนี้ไปหา พระบิดา พระองค์ทรงรักพวกของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด” พระเยซูลุกขึ้นล้างเท้าสาวก พระองค์กำลังสอนเขาถึงความรัก เมื่อมีความรักก็สามารถที่จะแสดงความถ่อมใจรับใช้คนอื่นด้วยความจริงใจ
พระเยซูสำแดงความรักเป็นแบบอย่างให้แก่สาวกอย่างไร ?
1) ทรงให้อภัย
เรามาหาพระองค์เพราะอะไร? ก็เพราะว่าเราต่างก็มีปัญหา ถามว่าพวกสาวกมีปัญหาหรือเปล่า ? มีครับ ทะเลาะกันไหม? ทะเลาะครับ... แก่งแย่งกันใครจะใหญ่กว่าใคร ใครจะนั่งข้างซ้ายใครจะนั่งข้างขวา เราพบว่าความรักที่พระเยซูคริสต์แสดงแก่พวกสาวกก็คือ การให้อภัย.. พระองค์อดทนต่อพวกเขาแม้เขาจะปฏิเสธพระองค์ละทิ้งพระองค์ไป
เปโตรปฏิเสธพระองค์ถึง 3 ครั้งว่าไม่รู้จักพระองค์ เมื่อพระองค์เป็นขึ้นมาจากความตาย พระองค์เสด็จไปหาเขาจิตใจพระองค์ผูกผันและให้อภัยสาวก พระองค์ถามเปโตรว่า “เจ้ารักเรามากกว่าสิ่งเหล่านี้หรือ? และพระองค์บอกเปโตรว่า “จงเลี้ยงแกะของเรา” พระองค์ทรงเห็นว่าเขายังเป็นคนที่ใช้การได้ พระองค์ทรงให้อภัยแก่เขา
กาลาเทีย 6:1-2 อาจารย์เปาโลได้กล่าวว่า “ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย แม้จับผู้ใดที่ละเมิดประการใดได้ ท่านซึ่งอยู่ฝ่าย พระวิญญาณ จงช่วยผู้นั้นด้วยใจอ่อนสุขภาพให้เขากลับตั้งตัวใหม่ โดยคิดถึงตัวเองเกรงว่าท่านจะถูกชักจูงให้หลงไปด้วย จงช่วยรับภาระของกันและกัน ท่านจึงจะได้ปฏิบัติตามพระบัญญัติ(รัก)ของพระคริสต์”
ความรักที่พระเยซูมีต่อพวกสาวกทำให้พระองค์ตามเขากลับมา แม้พวกเขาออกนอกน้ำพระทัยพระเจ้าหนีกลับไปจับปลา พระองค์ไม่รอให้เขามาหาพระองค์ แต่พระองค์เสด็จไปหาเขาด้วยความรักให้เขากลับมาสู่งานรับใช้กลับมาสู่พันธกิจของพระองค์อีกครั้งหนึ่ง
2) รู้จักการผ่อนหนักผ่อนเบาซึ่งกันและกัน
ธรรมชาติของมนุษย์เราก็คือ เอาตัวเราเองเป็นศูนย์กลาง ซึ่งนำไปสู่การขัดแย้ง และแตกแยก แน่นอนถ้าเราคิดและทำอย่างนั้น
โคโลสี 3:13 กล่าวไว้ว่า “จงผ่อนหนักผ่อนเบาซึ่งกันและกัน และถ้าแม้ว่าผู้ใดมีเรื่องราวต่อกัน ก็จงยกโทษให้กันและกันองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงโปรดยกโทษให้ท่านฉันใด ท่านจงกระทำอย่างนั้นเหมือนกัน”
พระคัมภีร์ข้อนี้ไม่ได้หมายความว่าให้เราอะลุ่มอล่วยกับความบาป แต่ให้เรารู้จักยอมรับกันและกันในความแตกต่าง ในความไม่เหมือนกัน เพราะว่าเราทั้งหลายมีข้อบกพร่องด้วยกันทั้งนั้น เราต้องให้อภัยพี่น้องถ้าเรารักพระเจ้าเราก็ต้องให้อภัยและรักเขาให้ได้ เปาโลได้บอกว่า “จงสวมความรักทับสิ่งแหล่านี้ทั้งหมดเพราะว่าความรักย่อมผูกผันทุกสิ่งไว้ให้ถึงความสมบูรณ์…ความรักลบล้างความผิดบาปมากมายได้”
ถ้าเรามีความรักต่อพระเจ้า แน่นอนเราก็สามารถที่จะรักคนอื่นได้ถึงแม้ว่าเขาจะไม่น่ารักก็ตาม และพระเจ้าจะสามารถทำพระราชกิจของพระองค์ในชีวิต ในคริสตจักรของเรามากยิ่งขึ้น ถ้าหากเราทั้งหลายรักซึ่งกันและกัน
พระเจ้าทรงรักเราทั้งหลายเต็มร้อย เราก็ควรรักซึ่งกันและกันเต็มร้อยเช่นเดียวกัน ด้วยการให้อภัยกันเต็มร้อย และผ่อนหนักผ่อนเบาซึ่งกันและกัน (ตัวอย่าง การซ่อมถนนป่าตัน มีป้ายเขียนไว้ว่า “ขออภัยในความไม่สะดวกเพราะกำลังก่อสร้าง” กรุณาใช้ทางเบี่ยง ) เราทุกคนกำลังรับการสร้างจากพระเจ้าจึงไม่มีใครสมบูรณ์แบบในโลกนี้ แต่เมื่อเราไปที่สวรรค์แล้วเราทุกคนจะสมบูรณ์แบบ
วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554
ฟังให้ได้ยินและทำตาม
ฟังให้ได้ยินและทำตาม
มัทธิว 7.24-27
คำนำ
1. วันนี้เป็นวันระลึกอนุชน สภาคริสตจักรฯ อนุชนเป็นอนาคตของคริสตจักร ต้องวางรากฐานที่ดี ฝึกฝนชีวิตและการรับใช้. สร้างอนุชนในวันนี้เพื่อจะไม่เสียใจในวันหน้า ขอพระเจ้าอวยพรอนุชนทุกคน(อนุชนยืนขึ้น)
2. ยินดีต้อนรับสู่ซีรีย์การเสริมสร้างชีวิตตอน 3 "ฟังให้ได้ยินและทำตาม" (ความบกพร่องฝ่ายวิญญาณ อาหารฝ่ายวิญญาณ)
3. มีคนกล่าวว่าอย่าฟังด้วยหูเท่านั้นแต่จงฟังด้วยตาและด้วยใจ เพราะการฟังเพียงหูอาจจะไม่ได้ยินและไม่เข้าใจ มีการทำวิจัยพบว่าสิ่งที่เราฟังเมื่อเวลาผ่านไป 72 ชั่วโมง เราจะจำได้ 5 % ของสิ่งที่เราฟัง
คนในปัจจุบันฟังด้วยตามากขึ้น เพราะเทคโนโลยี่การสื่อสารทันสมัยมากขึ้น ทำให้คนเห็นอะไรๆได้ง่าย กว้าง ไกลขึ้น คนจึงเชื่อในสิ่งที่ตนเห็นมากกว่าสิ่งที่ตนฟัง ดังนั้นจึง"ดีแต่พูด" หรือ"ดีแต่โม้" ไม่ได้ ต้องมีการกระทำให้เห็นเป็นประจักษ์คนจึงจะเชื่อ ถ้าเราบอกว่าพระเจ้าดีเราต้องดีด้วยคนจึงจะเชื่อว่าพระเจ้าดีจริง
ในพระคัมภีร์ พระเยซูได้กล่าวถึงคนฉลาดที่รู้จักฟังให้ได้ยินแล้วทำตามสิ่งที่ตนเองได้ยินจากพระเยซูจึงทำให้ชีวิตมีความมั่นคง
จากพระวจนะของพระเจ้าในวันนี้จะเห็นถึงวิธีที่ทำให้ชีวิตของเรามีความมั่นคง เจริญขึ้น พบความสำเร็จ อย่างน้อย 2 ประการ คือ...
1 ฟังพระคัมภีร์จนได้ยินเสียงของพระเจ้า
เราสามารถฟังพระวจนะได้หลายทาง จากการอ่าน ฟังเทศน์ ศึกษา สนทนาธรรม แต่สิ่งสำคัญยิ่งที่จะทำให้เราได้มีความมั่นคงในชีวิตนั้นเราต้องได้ยินเสียงแห่งน้ำพระทัยของพระเจ้า พระเยซูได้ตรัสถึงคนที่ได้ยินคำของพระองค์ คำว่า"ได้ยิน"(อคูเอโอ) ฟังตลอดเวลา คือ ให้พระคำเข้าหู เข้าหัว และ เข้าใจ understand(อยู่ใต้ธรรมมาส)กลายเป็นปัญญา wisdom ไม่ใช่ เป็นเพียง knowledge ที่เป็นเพียงความรู้ ซึ่งบางเรื่องเรามีมากพอแล้ว แต่ปัญญาจะทำให้เราเข้าใจน้ำพระทัยพระเจ้า
ฟังพระวจนะอย่างไรจึงจะได้ยิน เข้าใจเกิดปัญญา และเข้าใจน้ำพระทัยพระเจ้า
-ฟังอย่างตั้งใจ /ขะมักเขม้น/จดจ่อ/ใส่ใจ แบบคริสเตียนสมัยแรก
-ฟังอย่างถ่อมใจ/เปิดใจออก/รับเอาพระวจนะเข้าไปในจิตใจ น้อมรับพระวจนะว่าเป็นพระดำรัสของพระเจ้า
-ฟังด้วยความเชื่อศรัทธาเลื่อมใสเหมือนชาวเธสะโลนิกาที่มีใจศรัทธาในพระวจนะของพระเจ้าจึงค้นดูทุกวัน
2 ทำตามพระคัมภีร์จนชีวิตมีความมั่นคงในพระเจ้า
พระเยซูได้เปรียบเทียบคนที่ทำตามพระวจนะเหมือน"คนมีปัญญา"ที่สร้างบ้านไว้"บนศิลา" การสร้างบ้านบนศิลาเป็นการสร้างบ้านที่มั่นคง การสร้างบ้านบนทรายสร้างง่าย ลงทุนน้อย แต่ไม่มั่นคง การสร้างบ้านบนศิลาสร้างไม่ง่าย ต้องลงทุนมากกว่าแต่มีความมั่นคง ต้องขน(ขนขึ้นภูเขา)ต้องขุด ต้องเจาะ (ขุดเจาะลงไปในหิน) เพื่อจะวางรากฐานให้มั่นคง
เราจะทำตามพระวจนะของพระเจ้าอย่างไร?
-ทำตามอย่างพินิจพิจารณาและตั้งมั่น (ยากอบ 1.25) "แต่ผู้ที่พนิจพิจารณาธรรมบัญญัติอันสมบูรณ์แบบซึ่งเป็นบัญญัติแห่งเสรีภาพและตั้งมั่นในธรรมบัญญัตินั้น ไม่ได้เป็นผู้ฟังแล้วก็ลืมแต่เป็นผู้ที่ประพฤติตามผู้นั้นก็จะได้รับความสุขเพราะการประพฤตินั้น"
-ทำตามทั้งหมด ทุกประการ ไม่หลีกเลี่ยง ไม่ตัดทอน ไม่ลดคุณค่าของพระวจนะ(โยชูวา 1.7-8)"เพียงแต่จงเข้มแข็งและกล้าหาญยิ่งเถิด ระวังที่จะกระทำตามพระวจนะทั้งหมด ซึ่งโมเสสผู้รับใช้ของเราได้บัญชาเจ้าไว้นั้น อย่าหลีกเลี่ยงจากธรรมบัญญัตินั้นไปทางขวามือหรือซ้ายมือ เพื่อเจ้าจะได้รับความสำเร็จอย่างดีในทุกแห่งที่เจ้าไป อย่าให้หนังสือธรรมบัญญัตินี้ห่างจากปากของเจ้า แต่จงตรึกตรองตามนั้นทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อเจ้าจะได้ระวังที่จะกระทำตามข้อความทุกประการที่เขียนไว้นั้นแล้วเจ้าจะมีความเจริญและประสบความสำเร็จ"
การทำตามพระวจนะทั้งหมดของพระเจ้า จะทำให้ชีวิตได้รับพระพร รับความสุข ประสบความสำเร็จและความเจริญขึ้น
สรุป การได้ยินและทำตามพระวจนะของพระเจ้า จะทำให้ชีวิตของเรามีความมั่นคง ทั้งกาย จิตใจและวิญญาณ เมื่อชีวิตมีความมั่นคงแล้วก็ตั้งมั่นอยู่ได้แม้ต้องเผชิญกับคลื่นลม มรสุม กระแสอุปสรรคปัญหา ความทุกข์ยากลำบาก ชีวิตก็ไม่หวั่นไหวเพราะชีวิตอยู่ในน้ำพระทัยของพระเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554
ภูมิคุ้มกัน(ฝ่ายวิญญาณ)บกพร่อง
ภูมิคุ้มกัน(ฝ่ายวิญญาณ)บกพร่อง
มัทธิว 5:3
อธิษฐาน...
มัทธิว 5:3
คำนำ เมื่อกล่าวถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิต้านทาน มีหลายโรค เช่น โรคภูมิแพ้ โรคแพ้ภูมิตนเอง(SLE)โรคเอดส์เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง(HIV) เป็นต้น ในร่างกายของเรามีเม็ดเลือดขาว(CD4) ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย และทำลายเชื้อโรคนั้น ทำให้คนเราไม่เจ็บป่วย แต่เมื่อคนใดรับเชื้อไวรัส HIV (HIV ย่อจาก Human immunodeficiency virus) เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเสื่อม หรือบกพร่องลง เป็นผลทำให้เป็นโรคติดเชื้อ หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ อาการมักจะรุนแรง และเรื้อรัง เราเรียกว่าเอดส์ (AIDS) ย่อมาจากคำว่า Acquired immunodeficiency syndrome ซึ่งแปลว่า “กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันบกพร่อง” เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี คนที่เป็นโรคเอดส์ ถ้าไม่ได้กินยาต้านไวรัส และดูแลรักษาสุขภาพให้ดีก็จะเสียชีวิตในที่สุด
โรคเอดส์ทำให้คนเป็นตาย (ถ้าไม่ได้รับการรักษา กินยาต้าน ดูแลสุขภาพ) โรค(ไวรัส)บาปก็ทำให้คนทุกคนตาย เพราะทุกคนทำบาปและเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า (รม.3.23)
โรคความบาป เป็นอาการของคนที่ติดเชื้อ “ไวรัสแห่งการไม่เชื่อฟังพระเจ้า” ที่ทำให้มนุษย์มีชีวิตที่บกพร่องทั้ง ร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ ทำให้มนุษย์ต้องพบกับความไม่สมบูรณ์ของชีวิต ทำบาป พบกับความตายทั้งกาย ใจ และวิญญาณ
พระเยซูได้บอกวิธีรักษาโรคบาป ที่นำชีวิตไปสู่ความตาย พระเยซูบอกไวรัสฆ่าความบาป ไม่ใช่ต้านแบบไวรัสต้านเอดส์ แต่เป็นยาฆ่าความบาป คือ ความเชื่อในพระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอด
วิธีกินยาต้านไวรัสเอดส์
1. CD4 ต้องต่ำกว่า 250 (300)
2. กินตรงเวลา ระยะห่างกัน 12 ชม.
3. กินตลอดชีวิต
มัทธิว 5.3 พระเยซู เริ่มต้นคำเทศนาของพระองค์ด้วยเรื่องการรู้สึกตัวว่า “บกพร่องฝ่ายวิญญาณ” หรือความยากจนในวิญญาณ (The poor in spirit) จะเป็นสุข หรือได้รับพระพร (Bless) เพราะเขาจะได้รับแผ่นดินสวรรค์เป็นของเขา
จากพระวจนะของพระเจ้า พระเยซูได้บอกวิธีกินยาต้านความบาป 3 ประการ ดังนี้
1. รู้สึกบกพร่องฝ่ายวิญญาณ
- ยอมรับว่าตนเองบกพร่อง ผิดบาป ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องรับการช่วยเหลือจากพระเยซูคริสต์
- การยอมรับว่าตนเองบกพร่อง ไม่ใช่เรื่องน่าอาย อ่อนแอ แต่เป็นสิ่งที่พระเจ้าพอพระทัย และต้องการเห็นท่าทีแบบนี้ขอเรา “จิตใจที่สำนึกผิด”
2. รับว่าตนเองบกพร่อง (เพื่อที่จะเข้าสู่กระบวนการรักษา)
- เชื่อในพระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอด
- ยอมรับตนเองเพื่อเข้ารับการรักษาจากพระเยซูคริสต์
- อฟ.2:8-9 เรารอดโดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์ ไม่ไช่ด้วยการกระทำของตนเอง
3. เริ่มต้นชีวิตใหม่กับพระเจ้าด้วยการดำเนินชีวิตสัมพันธ์สนิทกับพระเยซูคริสต์
- ยอมเปลี่ยนเส้นทางเดินชีวิตใหม่ เดินในวิถีชีวิตใหม่บนความสัมพันธ์และการติดตามพระเยซูคริสต์
- 2 คร.5:17-18 เรากำลังถูกสร้างใหม่ในพระเยซูคริสต์
- ยน.15.1-8 เราดำเนินชีวิตในความสัมพันธ์กับพระเยซูคริสต์
สรุป คนที่ได้รับการรักษาโรคบาปจากพระเยซูคริสต์ก็ไม่ต้องพบกับความตาย “ค่าจ้างของความบาปคือความตาย แต่ของประทานจากพระเจ้า คือ ชีวิตนิรันดร์ในพระเยซูคริสต์” (รม.6.23)
คนที่ยอมรับว่าตนเองบกพร่อง แล้วรับการช่วยเหลือจากพระเจ้า เขาจะได้รับพระพร ได้รับแผ่นดินสวรรค์ ได้ไปสวรรค์ อยู่สวรรค์กับพระเจ้า ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ถ้าเราอยากได้รับพระพรจากพระเจ้า เราต้อง ยอมรับว่าเราบกพร่องฝ่ายวิญญาณ เข้ามารับการช่วยเหลือจากพระเจ้าด้วยการเชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์ และเริ่มต้นชีวิตใหม่ ดำเนินชีวิตบนความสัมพันธ์กับพระเยซูคริสต์วันต่อวัน
อธิษฐาน...
วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การนมัสการ กับความสัมพันธ์ผู้อื่น
การนมัสการ กับความสัมพันธ์ผู้อื่น
มัทธิว 5.23-24 อิสยาห์ 1.11-20
คำนำ คำเทศนาเรื่องการนมัสการ 4 ครั้ง ที่ผ่านมานั้น จะเน้นความสัมพันธ์กับพระเจ้า แต่ในวันนี้ จะสรุปเรื่องการนมัสการของเรา ด้วยเรื่องความสัมพันธ์กับมนุษย์
การนมัสการไม่ใช่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้าเท่านั้น แต่การนมัสการยังเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของเรากับพี่น้องของเรา กับ ผู้อื่น ด้วย
ทำไมการนมัสการพระเจ้าของเราจึงเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น ?
1. เพราะเราเป็นในฐานะที่เป็นคริสเตียน เราเป็น ชุมชนแห่งความสัมพันธ์ ชุมชนแห่งความรัก และชุมชนแห่งการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
การเป็นคริสเตียน ไม่ใช่เป็นเรื่องปัจเจกบุคคล แต่เป็นเรื่องความเป็นชุมชน เป็นชุมชนของผู้เชื่อวางใจในพระเจ้า ติดตาม เลียนแบบวิถีชีวิตของพระเยซูคริสต์ หรือที่เรียกว่า “สาวกของพระเยซูคริสต์”
เพราะฉะนั้น ความสัมพันธ์กับพี่น้อง ความสัมพันธ์กับผู้อื่น จึงเป็นเรื่องที่พระเจ้าให้ความสำคัญ พระเยซูให้ความสำคัญ พระคัมภีร์ให้ความสำคัญ
2. เพราะการนมัสการ เป็นการยกย่อง สรรเสริญ ยำเกรงและถวายเกียรติแด่พระเจ้า ยกให้พระเจ้าเป็นหนึ่ง ในชีวิตของเรา ยกให้น้ำพระทัยและพระประสงค์ของพระเจ้าเป็นหนึ่งในชีวิตของเรา ไม่ได้ทำตามใจ ตามความตั้งใจของตนเอง แต่เรา(คนที่นมัสการพระเจ้า) ยอมทำตามน้ำพระทัยและพระประสงค์(ความตั้งใจ)ของพระเจ้า พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้มีความสัมพันธ์กับพระองค์และมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย
เพราะฉะนั้น เมื่อพระเจ้าพอพระทัยและมีพระประสงค์ให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อพี่น้องและเพื่อนบ้านของเรา นอกจากที่มีพระประสงค์ให้เรามีความสัมพันธ์กับพระองค์แล้วนั้น(รักพระเจ้าสิ้นสุดจิต สิ้นสุดใจ และรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง) เราก็ต้องทำตามน้ำพระทัยและพระประสงค์ของพระเจ้า
การนมัสการของเรา จะเป็นการนมัสการที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นได้อย่างไร ? โดยการ...
1. คืนดี
หมอประเวศ วะสี ราษฎร์อาวุโส ได้กล่าวถึงสังคมไทย(สังคมโลกด้วย)ในปัจจุบัน ว่า “เป็นสังคมแตก” คือ แยกออกจากกันเป็นเสี่ยงๆ เป็นส่วนๆ ไม่ประสานติดกัน ซึ่งนำสังคมที่แตกนี้ไปสู่หายนะ นำไปสู่ความไม่เจริญ
เพราะฉะนั้น พระเยซู จึงตรัสว่า “ ...ให้ไปคืนดีกับพี่น้องก่อน นำเครื่องบูชามาถวาย(มา(มานมัสการ) พระเยซูให้ความสำคัญ กับความสัมพันธ์ของคน มาก่อน การถวายเครื่องบูชา เพราะถ้าไม่เช่นนั้น การถวายเครื่องบูชาที่ไม่มีความรัก ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น มันก็เป็นเพียงแค่การทำตามพิธี ทำเป็นพิธี ไม่ได้เป็นชีวิตจิตวิญญาณ และความจริง ซึ่งไม่เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า มันทำให้ พระเจ้า เอือม... พระเจ้าไม่ ปิติยินดี... พระเจ้าเกลียด..(เป็นสิ่งน่าเกลียดน่าชังแด่พระเจ้า)
การนมัสการแบบนี้ทำให้เป็นภาระที่พระเจ้าแบกเหน็ดเหนื่อย (ตรงข้ามกับ อิสยาห์ 40.29
“ ท่านไม่เคยรู้หรือ ท่านไม่เคยได้ยินหรือ พระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าเนืองนิตย์ คือพระผู้สร้างสุดปลายแผ่นดินโลก พระองค์มิได้ทรงอ่อนเปลี้ยหรือเหน็ดเหนื่อย...”)
พระเยซูต้องการให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับพี่น้องก่อนเพื่อการนมัสการของเราจะเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า
2. ทำดี
ทำตัวเองให้ดี
-ชำระตัว /ทำตัวให้สะอาด
-เลิกทำชั่ว /ฝึกทำดี
ทำในสิ่งดีๆ ต่อผู้อื่น
-มีความยุติธรรม
-บรรเทาผู้ถูกบีบบังคับ
-ป้องกันให้ลูกกำพร้า
-ต่อสู้เพื่อหญิงม่าย
ถ้านมัสการอย่างนี้ คือ อย่างมีสัมพันธ์กับผู้อื่น จะเกิดอะไรขึ้นกับเรา ?
พระเจ้าจะเปลี่ยนแปลง ชีวิต จากหลังมือ เป็นหน้ามือ เปลี่ยนจากชั่วไปดี (ทำให้เราเป็น “คนดี”)
พระเจ้าเจ้าจะอวยพร ให้ชีวิตเกิดผลดี (ทำให้เรา”เกิดผลดี”)
อธิษฐาน...
วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ณ โมริยาห์ การนมัสการที่เชื่อฟัง
ณ โมริยาห์ การนมัสการที่เชื่อฟัง
ปฐมกาล 22.1-19
ทำไมตั้งชื่อนี้
1. เพื่อให้ทุกคนเข้าใจว่าการนมัสการพระเจ้า เริ่มต้นที่การเชื่อฟังและจบลงที่การเชื่อฟัง คือ ออกไปสู่การรับใช้ ไม่ใช่จบแล้วก็ตัวใครตัวมัน บ้านใครบ้านมัน อาทิตย์หน้าค่อยมาว่ากันใหม่ อาทิตย์นี้ได้ทำหน้าที่คริสเตียนแล้ว ตลอดอาทิตย์ผม(ฉัน) จะทำอะไรก็เป็นเรื่อง ผม(ฉัน)แล้ว ซึ่งไม่ใช่แบบนั้น การนมัสการเริ่มต้นที่การเชื่อฟัง ออกไปสู่การดำเนินชีวิตและการรับใช้ด้วยการเชื่อฟัง ชีวิตเราก็จะได้รับพระพรของพระเจ้ามากมาย
2. เพื่อให้ทุกคนได้รู้ว่าที่ โมริยาห์ (พระวิหาร โบสถ์ คริสตจักร) เป็นศูนย์พัฒนาความเชื่อและการเชื่อฟัง ณ โมริยาห์ พระเจ้าได้ทรง ”ลองใจ” (พัฒนา)อับราฮัม ในเรื่องการเชื่อฟัง พระเจ้าได้พัฒนาความเชื่อของอับราฮัม ไปสู่การเชื่อฟัง อย่างหมดใจ หมดทั้งชีวิต
วันนี้ที่พระวิหารแห่งนี้ พระเจ้าจะพัฒนาชีวิตแห่งการนมัสการที่เชื่อฟังของเรา อาเมน !
จากพระวจนะของพระเจ้า ปฐมกาล 22.19-25 ....
มีเรื่องอะไรบ้างที่เราต้องเชื่อฟังเมื่อเรานมัสการพระเจ้า
1. เรื่องการไปนมัสการพระเจ้าตามคำสั่งของพระเจ้าด้วยการเชื่อฟัง
เมื่อพระเจ้าสั่งให้อับราฮัมไปนมัสการ (ถวายเครื่องเผาบูชา) ด้วยการถวายอิสอัคบุตรชายคนเดียวให้เป็นเครื่องเผาบูชา ที่แคว้นโมริยาห์ บนภูเขาลูกหนึ่งนั้น อับราฮัมได้ลุกขึ้นแต่เช้ามืด เตรียมตัว ไปนมัสการตามคำสั่งของพระเจ้าทันที ไม่รีรอ ไม่รอช้า ไม่มีเงื่อนไข ไม่ต่อรอง แต่ลงมือปฏิบัติตามทันที
ในพระคัมภีร์ ได้มีคำสั่ง คำเตือน มากมาย ให้เรานมัสการพระเจ้า เราได้ตอบสนองต่อคำสั่งของพระเจ้าในเรื่องการนมัสการพระเจ้าด้วยท่าทีแบบไหนบ้าง ?
มีบางคนบอกว่า มานมัสการแล้วไม่เห็นได้อะไรเลย หรือ ไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับชีวิตของตัวเองเลย ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่มาไม่ถึงการนมัสการ มาโบสถ์แต่ไม่ถึงการนมัสการพระเจ้า ไม่ได้พบความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า ไม่ได้รับการชำระให้บริสุทธิ์จากพระเจ้า ไม่ได้รับใช้พระเจ้าเมื่ออกจากพระวิหารไป
ท่าทีการนมัสการเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราเข้าถึงพระเจ้า หรือ ไม่ได้อะไรเลยจากการนมัสการพระเจ้าของเรา
ฮีบรู 10.19-25 19เหตุฉะนั้นพี่น้องทั้งหลาย เมื่อเรามีใจกล้าที่จะเข้าไปสู่สถานศักดิ์สิทธิ์โดย พระโลหิตของพระเยซู 20ตามทางใหม่และเป็นทางที่มีชีวิต ซึ่งพระองค์ได้ทรงเปิดออกให้เราผ่านเข้าไปทางม่านนั้น คือทางพระกายของพระองค์ 21และเมื่อเรามีปุโรหิตใหญ่เหนือหมู่คนของพระเจ้าแล้ว 22ก็ให้เราเข้าไปใกล้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วยไว้ใจเต็มที่ มีใจที่ได้รับการทรงชำระให้สะอาดแล้ว และมีกายที่ล้างชำระด้วยน้ำบริสุทธิ์ 23ขอให้เรายึดมั่นในความหวังที่เราทั้งหลายเชื่อและรับไว้นั้น โดยไม่หวั่นไหว เพราะว่าพระองค์ผู้ทรงประทานพระสัญญานั้นทรงสัตย์ซื่อ 24และขอให้เราพิจารณาดูว่าจะทำอย่างไร จึงจะปลุกใจซึ่งกันและกันให้มีความรักและทำความดี 25อย่าขาดการประชุมเหมือนอย่างบางคนที่ขาดอยู่นั้น แต่จงพูดหนุนใจกันให้มากยิ่งขึ้น เพราะท่านทั้งหลายก็รู้อยู่ว่าวันนั้นใกล้เข้ามาแล้ว
ท่าทีสำคัญในการเตรียมพร้อมสำหรับการไปนมัสการพระเจ้าที่เชื่อฟัง
1. มีใจกล้าที่จะเข้าไปสู่สถานศักดิ์สิทธิ์
2. เข้าไปใกล้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3. ไว้ใจเต็มที่
4. มีใจที่ได้รับการทรงชำระให้สะอาดแล้ว
5. มีกายที่ล้างชำระด้วยน้ำบริสุทธิ์
6. ปลุกใจซึ่งกันและกัน
7. อย่าขาดการประชุม
8. พูดหนุนใจกันให้มากยิ่งขึ้น
2. เรื่องเครื่องบูชาที่ถวายแด่พระเจ้าด้วยการเชื่อฟัง
พระเจ้าสั่งให้อับราฮัม ถวายอิสอัค(บุตรชายคนเดียว)แด่พระเจ้า “อิสอัค” คือทั้งหมดของชีวิต อับราฮัม มันคือการอุทิศถวายทั้งชีวิต
โรม 12.1-2 1พี่น้องทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้โดยเห็นแก่ความเมตตากรุณาของพระเจ้า ข้าพเจ้าจึงวิงวอนท่านทั้งหลายให้ถวายตัวของท่านแด่พระองค์ เพื่อเป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิตอันบริสุทธิ์และเป็นที่พอพระทัย พระเจ้า ซึ่งเป็นการนมัสการโดยวิญญาณจิตของท่านทั้งหลาย อย่าประพฤติตามอย่างคนในยุคนี้ แต่จงรับการเปลี่ยนแปลงจิตใจ แล้วอุปนิสัยของท่านจึงจะเปลี่ยนใหม่เพื่อท่านจะได้ทราบ น้ำพระทัยของพระเจ้า จะได้รู้ว่าอะไรดี อะไรเป็นที่ชอบพระทัยและอะไรดียอดเยี่ยม
เครื่องบูชาที่พระเจ้าต้องการให้ถวาย
“ถวายตัว” ถวายหมดทั้งชีวิตแด่พระเจ้า ทั้งภายในจิตวิญญาณ และการแสดงออกภายนอกในการดำเนินชีวิตตามน้ำพระทัยพระเจ้า
บางคน มาโบสถ์แต่ตัว แต่ใจไม่มา (เหมือนคุณยายคนนั้น..) บางคนมาแต่วิญญาณ มาแต่ใจ ตัวไม่มา (ใจอยู่ที่โบสถ์ตลอดเลยอาจารย์ แต่ไม่ว่าง มีธุระ)
สรุป การนมัสการที่เชื่อฟัง พระเจ้าจะอวยพระพร พระเจ้าจะจัดหาจัดเตรียมทุกสิ่งไว้สำหรับคนที่มานมัสการด้วยใจที่เชื่อฟัง (เยโฮวาห์ยิเรห์) ชีวิตของเราจะรับพระพรและเป็นพระพรอย่างมากมาย
อ่าน ปฐมกาล 22.15-19 พร้อมกัน
อธิษฐาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)